สรุปวิธีการใช้ Sometime, Some time และ Sometimes

วิธีใช้ Sometime, Some time, Sometimes อย่างถูกต้อง

หลายๆ คนน่าจะเคยสับสน ว่าในการเขียนคำว่า Sometime ต้องเว้นวรรคหรือเปล่า? ต้องเติม S ต่อท้ายไหม? การเขียนแบบไหนที่ถูกต้องที่สุด? ซึ่งความจริงแล้ว ทั้ง Sometime, Some time, Sometimes ต่างก็ใช้ได้ทั้งนั้น เพียงแค่มีความหมายและวิธีการใช้ที่แตกต่างกัน

วันนี้ XChange สรุปการใช้ Sometime, Some time, Sometimes มาฝาก และขอแนะนำว่าไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด เพราะคำที่ดูง่ายๆ เหล่านี้ ก็ทำให้หลายคนต้องเสียคะแนนมาแล้ว! โดยเฉพาะในการสอบ Writing ที่เรามักจะใช้เวลาในการเตรียมตัวกับหลัก Grammar หลักอื่นๆ จนอาจมองข้ามจุดเล็กๆ ที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน

ตัวอย่างการใช้ Sometime (adv.) ในประโยค

  • We should hang out sometime.
    = เราไปเที่ยวกันบ้างนะ (ไม่ได้เจาะจงว่าไปเมื่อไหร่)
  • I will meet her sometime next week.
    = สัปดาห์หน้าฉันจะไปเจอเธอสักหน่อย (ไม่ได้เจาะจงว่าวันไหนของสัปดาห์)

ตัวอย่างการใช้ Sometime (adj.) ในประโยค

  • He was a sometime professor at a community college.
    = เขาเคยเป็นอาจารย์ที่วิทยาลัยชุมชน
  • She was a singer and sometime actress. 
    = เธอเคยเป็นนักร้องและนักแสดงเป็นบางครั้ง

ตัวอย่างการใช้ Some time ในประโยค

  • It will take some time to finish this report.
    = จะต้องใช้เวลาระยะหนึ่งกว่าจะทำรายงานนี้เสร็จ
  • Give me some time to think about it.
    = ขอเวลาให้ฉันคิดหน่อย

ตัวอย่างการใช้ Sometimes (adv.) ในประโยค

  • He stays up late sometimes.
    = เขานอนดึกบางครั้ง
  • Sometimes we go out to eat.
    = บางครั้งเราก็ออกไปกินอาหารที่ร้าน

ถึงทั้ง 3 คำนี้จะมีหน้าตาที่ใกล้เคียงกัน แต่วิธีการใช้กลับแตกต่างกันอย่างชัดเจน เพราะฉะนั้นลองฝึกจำ ฝึกนำไปใช้ และฝึกสังเกตจากบริบทในประโยคกันดูนะคะ รับรองว่าถ้าฝึกฝนบ่อยๆ เราจะจำได้และสามารถนำไปใช้ได้ถูกต้องแบบไม่ต้องนึกนานเลย!

โดยเฉพาะน้องๆ นักเรียน / นักศึกษา อย่าให้ Sometime, Some time และ Sometimes มาหลอกตาเราจนต้องพลาดคะแนนสอบไปอย่างน่าเสียดายนะคะ

ส่วนผู้ใหญ่ หรือวัยทำงานที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารหรือประสานงาน เรามักคิดว่าเน้นแค่ความเข้าใจกับคู่สนทนาก็เพียงพอ แต่แอดมินขอแนะนำว่า การใช้ภาษาอังกฤษอย่างถูกต้องตามหลักภาษา นอกจากจะทำให้ผู้รับสารเข้าใจเนื้อหาได้อย่างถูกต้อง ไม่ผิดเพี้ยนแล้ว ก็เป็นแต้มต่อที่แสดงให้เห็นว่าเรามีความละเอียดรอบคอบในการใช้ภาษาหรือการทำงาน ถือเป็นอีกหนึ่งคุณสมบัติที่บริษัทต่างๆ ล้วนมองหาเช่นกันค่ะ


สรุปแกรมมาร์แบบเข้าใจง่ายๆ แบบนี้ ยังมีอีกเพียบ!
ในหนังสือ Grammalogic คู่มือแกรมมาร์ฉบับพกพาสะดวก

หนังสือรวมเทคนิคพิชิตแกรมมาร์สไตล์ XChange English
ที่จะทำให้เข้าใจหลักแกรมมาร์ตลอดชีพ
(จำนวน 180 หน้า พิมพ์ 4 สีทั้งเล่ม)

สามารถสั่งซื้อ / ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ได้เลย


CONTACT US!