คำศัพท์ เป็นสิ่งสำคัญลำดับต้นๆ ในการเรียนภาษาอังกฤษ ต้องรู้คำศัพท์ให้เยอะๆ และท่องจำ พร้อมนำไปประยุกต์ใช้เข้ากับการฟัง การพูด การอ่าน หรือการเขียน เพราะยิ่งรู้ศัพท์เยอะก็ยิ่งง่ายต่อการพัฒนาภาษา โดยวิธีจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ มีเทคนิคมากมายให้เลือกตามความเหมาะสม และเลือกให้เหมาะกับสไตล์การเรียนรู้ที่แต่ละคนชอบ หรือเลือกวิธีที่ตัวเองสามารถเรียนรู้ได้ดีมากที่สุด
บทความนี้จะพาไปดูเทคนิคการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ มีวิธีการจำอย่างไรให้นำไปใช้งานได้จริงและง่ายกับตนเองที่สุด จะมีวิธีไหนบ้าง ไปดูกัน
เทคนิคการจำคำศัพท์ กับการเรียนภาษาอังกฤษ
คำศัพท์คือหัวใจสำคัญในการเรียนภาษา ยิ่งรู้ความหมายของคำเยอะเท่าไร ก็สามารถนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมและมั่นใจมากขึ้น แต่คำศัพท์ทั้งหมดในโลกนี้ก็มีเยอะมาก ไม่มีใครสามารถจำได้หมดทุกคำ แม้แต่เจ้าของภาษาเองก็ไม่สามารถรู้จักศัพท์ทุกคำได้ ดังนั้นผู้เรียนภาษาทุกคนจึงควรมีวิธีจำคำศัพท์ที่เหมาะสมกับการใช้งาน ตอบโจทย์จุดประสงค์ในการเรียนภาษา และที่สำคัญคือ ต้องเป็นวิธีการเรียนรู้ การจำที่เหมาะกับตัวเอง เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย เรียนรู้ได้ไว และสนุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้ดีมากขึ้นนั่นเอง
10 วิธีจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษง่ายๆ นำไปใช้งานได้จริง
เทคนิคการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ เป็นวิธีการที่ช่วยให้เราสามารถเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว และรู้ถึงวิธีการนำคำศัพท์มาใช้งานได้อย่างเหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ มาดู 10 วิธีจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษง่ายๆ นำไปใช้งานได้จริง เหมาะสมกับผู้เรียนทุกคน สามารถเลือกเทคนิคที่ถนัดมากที่สุดไปต่อยอดใช้ในการเรียนและการพัฒนาทักษะได้เลย ดังนี้
1. การใช้แฟลชการ์ดคำศัพท์
การจำศัพท์ด้วยแฟลชการ์ดคำศัพท์นั้น เป็นวิธีการเรียนคำศัพท์เพื่อการทบทวนที่ดีมากที่สุด โดยวิธีนี้เป็นการนำกระดาษขนาดเล็กๆ เท่ากับการ์ดหรือไพ่มาเขียนคำศัพท์ที่ได้เรียนรู้แล้วลงไปในด้านหนึ่ง แล้วพลิกอีกด้านหนึ่งเพื่อเขียนคำแปล จะเขียนการ์ดแบบแยกหมวดหมู่คำ หรือเขียนแบบคละเลยก็ขึ้นอยู่กับความถนัดในการเลือกทบทวนของแต่ละคน จากนั้นให้จับแฟลชการ์ดขึ้นมาเพื่อดูคำศัพท์ แล้วทายคำแปลออกมาให้ถูกต้อง เมื่อตอบคำไหนได้ถูกต้อง ก็ให้แยกแฟลชการ์ดนั้นไปยังกองที่สามารถจดจำได้แม่นแล้ว หรือแยกไปยังกองที่พอจะจำได้ และกองการ์ดที่ยังจำศัพท์ไม่ได้เพื่อวนหยิบมาทบทวนต่อไปเรื่อยๆ จนจำคำศัพท์ได้หมด
ข้อดี
ข้อดีของเทคนิคการจำศัพท์แบบนี้ คือการทบทวนความจำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เหมาะกับคนที่ต้องการจำคำศัพท์ให้ได้อย่างรวดเร็วให้ระยะเวลาที่สั้นที่สุด ไม่ว่าจะจำเพื่อการสอบ เทคนิคการจำคำศัพท์แบบนี้ถือว่าช่วยให้ประหยัดเวลาได้มากเลยทีเดียว
ข้อจำกัด
อาจต้องยอมเสียเวลาในการเขียนทำการ์ดและแยกกองการ์ดนิดหน่อย ยิ่งต้องการเพิ่มจำนวนคำศัพท์ในการทบทวน ก็จะยิ่งมีการเขียนทำแฟลชการ์ดที่มากขึ้น นอกจากนี้ ต้องมีการทบทวนอย่างเป็นนิสัย ไม่เช่นนั้นอาจลืมได้ในระยะยาว
2. การแปะโพสต์อิทกระตุ้นความจำ
วิธีจำคำศัพท์ด้วยการเขียนโพสต์อิทติดไว้ยังที่ต่างๆ ที่สามารถมองเห็นได้อยู่ตลอดเวลา เห็นศัพท์ได้บ่อยๆ จากการผ่านตาหรือต้องไปอยู่บริเวณโซนนั้น รวมถึงการเขียนโพสต์อิทแปะไปยังของใช้หรือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับหมวดหมู่ประเภทคำศัพท์ที่ต้องการจำ ถือว่าเป็นวิธีการที่ช่วยให้ทบทวนและจดจำคำศัพท์ให้ดีมากขึ้น จำได้อย่างแม่นยำแน่นอน เหมาะกับคนที่ความจำสั้น จำศัพท์ไม่เก่ง และผู้ที่เริ่มเรียนภาษาใหม่ๆ อย่างมาก
ข้อดี
วิธีนี้เป็นการสร้างความจำในระยะยาวที่เห็นผลลัพธ์ได้ดีที่สุด ไม่เครียด ไม่ต้องนั่งเคร่งใช้สมาธิท่องจำเยอะๆ เหมาะกับคนที่ไม่ค่อยมีเวลาสำหรับการเรียนรู้
ข้อจำกัด
อาจต้องใช้เวลาในการจำคำศัพท์ที่นานในระดับหนึ่ง เพื่อให้เกิดความคุ้นตากับการพบเจอป้ายคำศัพท์บนโพทต์อิทแต่ละโซน แต่ละที่ภายในที่อยู่อาศัย
3. การใช้เทคนิคช่วยจำแบบ Mnemonics
เทคนิคการจำคำศัพท์แบบวิธี Mnemonics เป็นการจำจากการเชื่อมโยงผ่านจินตนาการในวิธีที่แต่ละคนถนัดมากที่สุด จะช่วยให้เพิ่มความสนุกในการจำ สร้างความทรงจำได้แม่นยำและรวดเร็ว ได้ฝึกกระบวนการคิด การนำไปใช้ และการเลือกคำศัพท์ออกมาได้มากมาย เป็นการฝึกคำศัพท์ผ่านการโยงทุกอย่างแบบอิสระ ไม่มีทฤษฎีจำกัดว่าถูกหรือผิด ยกตัวอย่างดังนี้
- การเชื่อมโยงจากรากคำศัพท์ เช่นคำว่า maintain แปลว่า การบำรุงรักษา อาจแยกมาจำว่า main คือ หลัก tain คือ มีอยู่ ดังนั้น การบำรุงรักษา (maintain) เป็นสิ่งหลักที่ต้องมีในทุกอย่าง โยงแบบนี้หรือจากความหมายอื่นๆ ได้ตามจินตนาการของผู้เรียนได้เลย
- การเชื่อมโยงคำศัพท์จากเสียงคำคล้องจองไปเรื่อยๆ เช่น โชคชะตา – Fate Gate – ประตู
- การเล่นต่อคำศัพท์ด้วยตัวเองจากพยัญชนะหลังสุด เช่น November พฤศจิกายน คำถัดไปเริ่มที่ตัว R – Reach เข้าถึง คำต่อไปเริ่มที่ตัว H – Hold ถือ
ข้อดี
เป็นวิธีที่ช่วยในการจำศัพท์ให้กับความทรงจำระยะสั้นและระยะยาวได้เป็นอย่างดี ทบทวนได้ง่าย และกระตุ้นการเรียนรู้ของสมองได้เต็มประสิทธิภาพมาก มีความแม่นยำในคำศัพท์มากขึ้น ได้เรียนรู้ศัพท์ใหม่ๆ ให้จำมากขึ้นโดยอัตโนมัติและจำได้ง่ายในทันที
ข้อจำกัด
การจำแบบนี้จะเป็นการจำศัพท์และเรียนรู้คำใหม่ไปได้เรื่อยๆ โดยจะไม่มีหมวดหมู่ที่เป็นสัดส่วนเท่าไรนัก เพราะเน้นการใช้งานความจำจากสมอง และเน้นการดึงคำออกมาตามจินตนาการ
4. การใช้เทคนิคการจำรากคำศัพท์
การเลือกจำจากรากศัพท์ จะช่วยในการคาดเดากลุ่มคำที่มีความหมายเหมือน หรือคล้ายคลึงกันได้แม่นยำมากขึ้น และแปลหรือนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง ถึงแม้จะไม่รู้คำแปลที่เป๊ะแน่นอน หรืออาจไม่รู้คำแปลของศัพท์นั้นเลยก็ยังสามารถนำไปใช้งานได้จากการจำผ่านรากศัพท์ของคำ วิธีนี้เหมาะกับคนต้องใช้สอบ ใช้ทำงานด้านเกี่ยวกับภาษาโดยตรงอย่างมาก
ยกตัวอย่างเช่น Gentleman ที่แปลว่า สุภาพบุรุษ รากศัพท์อาจมาจากคำต้น Gent ที่แปลว่า สุภาพ และมีคำศัพท์อื่นในกลุ่มเดียวกันนี้ คือ Gently แปลว่า ค่อยๆ เบาๆ (ที่หมายถึงความสุภาพและอ่อนโยน ทะนุถนอม) และ Gentle แปลว่า อ่อนโยน มารวมกับคำว่า man ที่แปลว่า ผู้ชาย ดังนั้น Gentleman จึงแปลว่า ผู้ชายที่สุภาพอ่อนโยน ซึ่งก็คือ สุภาพบุรุษ เป็นต้น
ข้อดี
สามารถจำคำศัพท์จำนวนมากๆ ได้จากคำเพียงแค่ 1 คำ โดยไม่ต้องท่องจำแยก เป็นวิธีการจำที่ง่าย และรู้ศัพท์ได้เยอะในการเรียนรู้เพียงแค่เวลาสั้นๆ เท่านั้น
ข้อจำกัด
ศัพท์หลายๆ คำ ไม่มีรากศัพท์ที่ตรงตัว ไม่สามารถใช้ได้กับทุกคำ แต่ก็ยังคงเป็นวิธีที่ดีอยู่ในการเรียนรู้ศัพท์ใหม่
5. การเขียนคำศัพท์ใหม่ๆ ลงในสมุดบันทึกคำศัพท์
วิธีสุดคลาสสิกและยังคงได้ผลดีสำหรับการเรียนรู้ภาษาก็คือวิธีการเขียนหรือจดคำศัพท์ใหม่พร้อมคำแปลลงไปยังสมุดบันทึกของตัวเอง เพราะการเขียนเองบ่อยๆ นำมาใช้บ่อยๆ หรือแม้แต่การคัดซ้ำๆ จะช่วยให้จำคำศัพท์ การสะกดคำ และคำแปลได้อย่างแม่นยำมากที่สุด เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพครบทุกด้านของผู้เรียนภาษา
ข้อดี
ได้จำคำศัพท์ การสะกดคำ และคำแปลไปพร้อมกันอย่างแม่นยำ 100% และยังช่วยให้จดจำคำศัพท์ไปได้ตลอด เป็นวิธีจำคำศัพท์ระยะยาวที่เห็นผล เหมาะกับผู้ที่เรียนภาษาทุกคน
ข้อจำกัด
บางคนอาจไม่ถนัดการเรียนแบบจดเพื่อจำ ซึ่งต้องเสียเวลาคัดหรือจดจำนวนศัพท์ 1 คำ เยอะมากกว่าปกติ
6. การนำคำศัพท์ใหม่ไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ทันที
เมื่อได้รู้คำศัพท์ใหม่ๆ มาแล้ว สามารถนำไปใช้กับชีวิตประจำวันได้ทันที อาจเป็นการสนทนากับเพื่อนต่างชาติ หรืออาจนำไปใช้พูดคุยกับเพื่อนคนไทยด้วยกันแบบคุยเล่นขำขันเพื่อทบทวนศัพท์คำนั้น ไปจนถึงการออกไปเที่ยว ออกไปข้างนอก แล้วแต่งประโยคขึ้นมาให้เชื่อมกับศัพท์ที่เจอก็ได้เช่นกัน หรืออัดวิดีโอเล่นๆ แล้วพูดคุยคนเดียวให้สัมพันธ์กับศัพท์นั้น สามารถฝึกจากการใช้ชีวิตประจำวันได้เลยทันที
ข้อดี
ช่วยให้จำศัพท์ได้ง่ายขึ้น พร้อมฝึกเลือกใช้ได้ตามสถานการณ์ชีวิตจริงทันที วิธีการนี้ได้รับทั้งการจำศัพท์และความมั่นใจในการใช้งานจริง
ข้อจำกัด
ศัพท์บางคำ หรือศัพท์เฉพาะ อาจยากสำหรับการนำมาใช้ในชีวิตประจำวันหรือสถานการณ์รอบตัวได้ในทันที อาจสมมุติสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องขึ้นมา แล้วใช้ศัพท์พร้อมประโยคต่างๆ ก็ช่วยแก้ไขข้อจำกัดตรงนี้ได้
7. การจับคู่ชุดคำศัพท์
เทคนิคการจำคำศัพท์ด้วยวิธีจับคู่ชุดคำศัพท์ จะช่วยให้รู้คำศัพท์ใหม่ๆ เยอะขึ้น และสามารถจำศัพท์ใหม่เหล่านั้นได้เลยทันที โดยอาจเลือกจับชุดคู่คำศัพท์แบบพื้นฐานง่ายๆ ก่อน
การเลือกจับคู่ชุดคำศัพท์ของคำเหมือนคำคล้าย (Synonym) และคำความหมายตรงกันข้าม (Antonym) เช่น Rich, Wealthy, Affluent, และ Prosperous ที่เป็นกลุ่มคำความหมายเดียวกัน คือ ร่ำรวย ซึ่งมีคำความหมายตรงข้ามกัน คือ Poor, Destitute, Needy, และ Indigent ที่แปลกว่า ยากจน
ข้อดี
ได้รู้คำศัพท์มากขึ้น และจำความหมายของคำศัพท์ได้ง่ายมากด้วยเช่นกัน เพราะเป็นชุดคำกลุ่มความหมายเดียวกัน จึงทำให้คลังศัพท์ในสมองของเราเพิ่มได้เยอะขึ้น มีคำให้เลือกใช้ได้มากขึ้น
ข้อจำกัด
ต้องเสียเวลาเพิ่มเติมเล็กน้อยในการจัดชุดคำศัพท์ตามที่ต้องการจำฝึกฝนหรือเรียนรู้เพิ่มเติม แต่รับรองว่าง่ายต่อการพัฒนาภาษาแน่นอน
8. การอ่านออกเสียงคำศัพท์ให้มากขึ้น
นอกจากการอ่านและการเขียนแล้ว วิธีจำคำศัพท์ด้วยการอ่านออกเสียงก็จะช่วยให้ทักษะการพูดและการฟังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แถมยังช่วยให้จำคำศัพท์ต่างๆ พร้อมความหมายและการใช้งานในรูปประโยคตามสถานการณ์จริงได้อย่างแม่นยำ ยิ่งถ้าอ่านออกเสียงหลังจากเขียนจดคำศัพท์ก็จะยิ่งได้ประสิทธิภาพในการเรียนรู้เต็มที่มากที่สุด
ข้อดี
ได้รับทักษะการเรียนรู้และการจำคำศัพท์อย่ารวดเร็ว และได้เห็นวิธีการใช้งานในรูปประโยคตามสถานการณ์อย่างถูกต้อง
ข้อจำกัด
ต้องหาคำอ่านที่ถูกต้องด้วย ไม่เช่นนั้นการออกเสียงอ่านผิด ก็จะทำให้ความหมายของคำผิดตามได้
9. การเรียนรู้คำศัพท์จากตัวอย่างประโยค
ในการจำคำศัพท์ต่างๆ จะต้องมีตัวอย่างประโยคมาให้เห็นถึงวิธีการใช้คำศัพท์แต่ละสถานการณ์ ดังนั้นอีกหนึ่งโอกาสดีของการจำคำศัพท์ได้มากขึ้น และง่ายต่อการจำในทันที คือการเรียนรู้คำศัพท์อื่นๆ เพิ่มเติมจากในประโยคตัวอย่างนั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นประโยคตัวอย่างของคำศัพท์หลักที่เรากำลังเรียนรู้และจดจำอยู่ก็ตาม แต่ในประโยคสั้นๆ ก็มีคำศัพท์น่าจำเป็นความรู้เสริม พร้อมคำแปลที่ครบและจบในประโยคเดียว รับรองว่าได้เพิ่มคลังศัพท์และความรู้ในการยกไปใช้งานได้อีกมาก
ข้อดี
ประหยัดเวลาในการเรียนรู้ได้มากขึ้น ได้รู้คำศัพท์ใหม่ๆ มากขึ้นจากการจำเพียงแค่ 1 คำ หรือ 1 กลุ่มศัพท์ เป็นความรู้เสริมที่ดี
ข้อจำกัด
บางประโยคอาจไม่มีคำศัพท์ใหม่ให้จำ แต่ก็สามารถดูคำอื่นๆ ในประโยคตัวอย่างไว้เป็นการทบทวนแทนก็ได้
10. การทบทวนคำศัพท์ตามหลัก Space Repetition
สำหรับเทคนิคการจำคำศัพท์ด้วยหลักการ Space Repetition เป็นการทบทวนอย่างเห็นผลลัพธ์จริงตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ด้านระบบการทำงานของสมอง โดยมีวิธีการคือ ทบทวนคำศัพท์ตามระยะเวลา 4 ช่วงใหญ่ ได้แก่ การทบทวนคำศัพท์ทันทีหลังจากเรียนเสร็จหรือหลังจากได้เจอศัพท์ใหม่คำนั้น การทบทวนคำศัพท์ที่เจอทั้งหมดจากการเรียนรู้มาแล้วหลังผ่านไป 24 ชั่วโมง การทบทวนคำศัพท์ที่ได้เรียนรู้มาทั้งหมดแล้วซ้ำอีกภายใน 1 สัปดาห์ และการทบทวนคำศัพท์ที่เจอหรือได้เรียนรู้มาแล้วทั้งหมดอีกครั้งภายใน 1 เดือนหลังจากเรียนมาทั้งหมด จะช่วยให้ระบบของสมองจดจำและประยุกต์ใช้ได้อย่างแม่นยำแบบไม่มีลืมแน่นอน
ข้อดี
เป็นการสร้างความทรงจำในการเรียนรู้และจดจำคำศัพท์พร้อมการใช้งานตามสถานการณ์ได้แบบระยะยาว และจำได้แม่นยำไม่มีลืม
ข้อจำกัด
ต้องใช้เวลาสำหรับการทบทวนค่อนข้างเยอะมากกว่าวิธีอื่นๆ แต่รับรองว่าเห็นผลลัพธ์ชัดเจน
สรุป
เทคนิคการจำคำศัพท์คือการเรียนรู้ภาษาด้วยเทคนิคที่ง่ายต่อการจดจำ และเพิ่มความมั่นใจในการนำไปใช้จริงตามสถานการณ์ต่างๆ เพราะการหาเทคนิคเพื่อการเรียนรู้จะช่วยให้ประหยัดเวลาสำหรับการท่องจำคำศัพท์ และเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนและการจำได้มีคุณภาพสูงมากที่สุด ช่วยให้การเรียนรู้ภาษาอังกฤษดีมากขึ้นอย่างชัดเจน แม้ว่าผู้เรียนจะไม่มีพื้นฐานด้านภาษามาก่อนเลยก็ตาม สำหรับเทคนิคข้างต้นนี้ ทั้งหมดไม่เพียงแค่ใช้กับการเรียนภาษาอังกฤษเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้ได้ทุกภาษาเลย
นอกจากวิธีจำคำศัพท์ในบทความนี้แล้ว มาเรียนที่ XChange สถาบันการสอนเพื่อผู้เรียนทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัย ทุกจุดประสงค์แบบครบทุกหลักสูตร สอนโดยอาจารย์ผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี และเจ้าของภาษาที่มีประสบการณ์สอนการันตี รับรองว่าคุณจะได้ทักษะทางภาษาอังกฤษกลับไปอย่างรบครันแน่นอน
ส่วนใครที่ไม่มีเวลาในการลงคอร์สเรียน หรือเป็นคนที่มีพื้นฐานแน่น แล้วต้องการเพิ่มเติมเทคนิคให้แม่นยำ ทบทวนพื้นฐานเกี่ยวกับทฤษฎี คำศัพท์ กฎรูปประโยค และการฝึกทำข้อสอบจริงด้วยตัวเอง สามารถสั่งซื้อหนังสือ 750 VOCAB YOU MUST KNOW BEFORE TOEIC EXAM และ 1001 VOCAB YOU MUST KNOW BEFORE TOELF EXAM หนังสือที่รวบรวมคำศัพท์และเทคนิคโครงสร้างคำศัพท์สำหรับผู้ที่จะสอบ TOEIC และ TOELF ไว้อย่างครบทุกด้าน ได้ใช้งานจริงในข้อสอบทุกชุดแน่นอน